ขั้นตอนที่ 1 : เข้าไปที่คอนโทรลพาเนล แล้วเลือกไปที่หัวข้อ System and Maintenance
ขั้นตอนที่ 3 : ให้ดับเบิลคลิกที่ไอคอน Computer Management
ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อมีหน้าจอของ Computer Management แสดงขึ้นมา ให้ไปดูทางด้านซ้ายมือเลือกไปที่หัวข้อ Storage แล้วเลือกหัวข้อย่อย Disk Management จากนั้นคุณก็จะได้เห็นหน้าจอที่รายงานจำนวนของฮาร์ดดิสก์และจำนวนของพาร์ทิ ชัน(ถ้ามีการแบ่ง) ซึ่งจะมีการแสดงไว้เป็นแบบข้อความ Text และในแบบรูปภาพแผนผัง
ขั้นตอนที่ 5 : ให้คุณคลิกขวาไปยังฮาร์ดดิสก์ที่คุณต้องการแบ่งพาร์ทิชัน แล้วเลือกไปที่คำสั่ง Shrink Volume.. ซึ่งเป็นคำสั่งที่นำเราไปสู่กระบวนการแบ่งพาร์ทิชันจริงๆ
ขั้นตอนที่ 6 : จะมีหน้าต่าง Shrink C: แสดงขึ้นมา ให้คุณใส่ขนาดของพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการแบ่งออกมา จากตัวอย่างนี้ฮาร์ดดิสก์มีพื้นที่ประมาณ 64GB เราจะแบ่งพาร์ทิชันใหม่ออกมาให้มีพื้นที่ประมาณ 20GB เราก็ใส่จำนวนลงไปโดยมีหน่วยเป็น MB เราใส่ตัวเลขกลมๆ ว่า 20000 MB ส่วนช่องตัวเลขที่ลูกศรชี้อยู่นั้นจะเป็นจำนวนของพื้นที่ที่เหลือของพาร์ทิ ชันแรกเมื่อถูกแบ่งออกมา เมื่อใส่ตัวเลขเรียบร้อยก็ให้คลิกที่ปุ่ม Shrink
ขั้นตอนที่ 7 : เราก็จะได้เห็นว่าพื้นที่ของฮาร์ดดิสก์ได้มีการถูกแบ่งออกเป็น 2 พาร์ทิชันเรียบร้อย แต่ว่าพาร์ทิชันที่แบ่งออกมาใหม่ยังไม่สามารถใช้งานได้
ขั้นตอนที่ 8 : ให้คุณคลิกขวาไปที่พื้นที่ของพาร์ทิชันใหม่ที่เพิ่งแบ่งออกมา แล้วก็เลือกไปที่คำสั่ง New Simple Volume…
ขั้นตอนที่ 9 : จากนั้นจะมีหน้าจอ New Simple Volume Wizard แสดงขึ้นมา เพื่อบอกกับเราว่านี้เป็นระบบ Wizard ที่จะช่วยเรา ก็ไม่มีอะไรครับคลิก Next ไปเลย
ขั้นตอนที่ 10 : ในขั้นตอนนี้ Wizard ก็จะถามเราอีกว่าเราต้องการใช้พื้นที่ที่แบ่งออกมาทั้งหมดเลยหรือไม่ถ้าใช่ เราก็ใส่จำนวนทั้งหมดลงไป แต่ถ้าใม่เราก็สามารถใส่ตัวเลขที่หน้อยกว่าโดยมีหน่วยเป็น MB เช่นกัน ในตัวอย่างนี้ถ้าเราใส่ 20000 MB ก็หมายความว่าเราต้องการใช้พาร์ทิชันใหม่ทั้งหมด แต่ถ้าเราใส่ไปแค่ 10000 MB ก็หมายความว่าพาร์ทิชันใหม่ของเราที่แบ่งออกมาจะถูกใช้งานประมาณ 10GB และก็จะมีพื้นที่ว่างๆ อีกประมาณ 10 GB แต่ในตัวอย่างนี้เราจะใช้พื้นที่ทั้งหมด คลิกที่ปุ่ม Next
ขั้นตอนที่ 11 : ในขั้นตอนนี้เราสามารถกำหนดได้เลยว่าพาร์ทิชันใหม่ของเราเมื่อฟอร์แมตเสร็จ แล้วจะให้เป็นไดรฟ์อะไร ในตัวอย่างนี้โปรแกรมเลือกให้เราโดยอัตโนมัติว่าเป็น F: และในหน้าจอนี้คุณยังสามารถออปชันอื่นๆ ได้อีก แต่เดี๋ยวจะงง เอาแค่นี้ก่อน คลิกที่ปุ่ม Next เพื่อทำงานต่อไป
ขั้นตอนที่ 12 : ระบบ Wizard จะให้เราทำการฟอร์แมตพาร์ทิชันที่แบ่งออกมาโดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะให้ เป็นแบบ FAT32 หรือ NTFS ก็ได้ ในตัวอย่างนี้เราให้เป็นแบบ NTFS และคุณสามารถกำหนดชื่อของพาร์ทิชันใหม่ได้เลยโดยใส่ไปตรงช่อง Volume label จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Next
ขั้นตอนที่ 13 : ระบบ Wizard จะทำการรายงานให้เราทราบว่าเราได้ทำการกำหนดรายละเอียดอะไรไปบ้างเกี่ยวกับ พาร์ทิชันใหม่ของเรา เราสามารถตรวจสอบและย้อนกลับไปแก้ไขได้ถ้าเราเปลี่ยนใจ ก็ให้คลิกที่ปุ่ม Back เพื่อย้อนกลับไปยังขั้นตอนต่างๆ แต่ถ้าไม่ต้องการแก้ไขอะไรให้คลิกที่ปุ่ม Finish ซึ่งเป็นการจบขั้นตอนของ Wizard เท่านั้น แต่ยังไม่จบขั้นตอนของการแบ่งพาร์ทิชันเพื่อให้ใช้งานได้
ขั้นตอนที่ 14 : เมื่อคุณคลิกที่ปุ่ม Finish ในหน้าจอ Wizard แล้วก็อย่าเพิ่งไปปิดโปรแกรม Computer Management เพราะคุณต้องรอให้โปรแกรมทำการฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ให้เสร็จ 100% ซะก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น