วิธีการติดตั้ง OS X 10.5 - Leopard
ต่อไปนี้เป็นการแสดงขัั้นตอนการลงโปรแกรม OS X เวอร์ชั่น 10.5 (Leopard)
note : เนื่องจากการ install OS X Leopard เป็นขึ้นตอนที่มีรายละเอียดมากพอสมควร ผมเลยคิดว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนจะได้ไม่ยาวเกินไป และเพื่อความรวดเร็วในการโหลดภาพ โดย link ไปยังตอนต่อไปจะอยู่ด้านล่างสุดของหน้านี้ครับ
ต่อไปนี้เป็นการแสดงขัั้นตอนการลงโปรแกรม OS X เวอร์ชั่น 10.5 (Leopard)
note : เนื่องจากการ install OS X Leopard เป็นขึ้นตอนที่มีรายละเอียดมากพอสมควร ผมเลยคิดว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนจะได้ไม่ยาวเกินไป และเพื่อความรวดเร็วในการโหลดภาพ โดย link ไปยังตอนต่อไปจะอยู่ด้านล่างสุดของหน้านี้ครับ
ภาพประกอบอาจจะไม่ชัดนะครับ ขออภัย
ใส่แผ่น install dvd เข้าไปในเครื่อง
จะมีตัวเลือกดังนี้
- Install Mac OS X.app - เป็นการติดตั้ง OS X ลงในเครื่อง
- DVD or CD Sharing Setup.mpkg - สำหรับ setup การลง OS X ให้กับ Macbook Air
- Optional Installs - ติดตั้งตัวเลือกอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น xcode, ภาษาต่าง ๆ (สามารถเลือกลงเพิ่มเติมได้ภายหลัง
- Instructions - คำแนะนำอื่น ๆ
ให้เลือก Install Mac OS X.app เพื่อทำการติดตั้งลงในเครื่อง ถ้ามีหน้าต่างใหม่บอกให้เรา restart ก็ให้เลือก restart ไปนะครับ แล้วเราจะเข้าสู่การ Install
เลือกภาษาในการ Install
ตรงนี้จะให้เราเลือกภาษาหลักที่จะใช้ต่อไปตลอดการ Install ครับ
เราจะพบกับกล่องข้อความต้อนรับ สำหรับการติดตั้ง OS X
เราจะพบกับกล่องข้อความต้อนรับ สำหรับการติดตั้ง OS X
เราจะเจอกล่องข้อความต้อนรับเราเข้าสู่การติดตั้ง osx ให้กด Continue ผ่านไป
ข้อตกลงการใช้งาน
เลือกพื้นที่บน hard disk ที่จะทำการติดตั้ง OS X Leopard
- เลือก Options ถ้าต้องการเลือกรูปแบบการ Install OS X Leopard ลงบนเครื่อง (มี 3 แบบให้เลือก - อธิบายในภาพถัดไป)
- เลือก hard disk ที่ต้องการจะ install OSX
- คลิ๊ก Continue
note : จากภาพผมแบ่ง partition เอาไว้ + กับมี external hdd อีก 2 ตัวต่อเข้้ากับเครื่อง เลยมีให้เลือกเพิ่มขึ้น -- ซึ่งถ้าปรกติเครื่องใหม่ จะเห็น hard disk อยู่ น้อยกว่านี้ อาจจะ 1 -2 hard disk แล้วแต่ว่าจะแบ่ง partition เอาไว้ก่อน install OS X หรือไม่
หน้าต่าง Options
มีคำสั่งเลือก Install ให้เราเลือก 3 แบบ ดูรายคำอธิบาย เรื่องรูปแบบการ Install OS X Leopard แบบละเอียดได้จาก ใน link เลยครับ =)
เมื่อเลือกได้แล้วกด OK เราจะกลับไปหน้า Select a Destination ในหัวข้อที่แล้ว .. ให้เลือก Hard disk ที่ต้องการจะลง system แล้วจากนั้นกด Continue
หน้าต่างเตรียมสำหรับการติดตั้ง OS X
ในหน้าต่างนี้ จะเป็นการบอกเราว่าเรากำลังจะติดตั้ง system ใหม่แล้ว
- ถ้าเราใช้ MacBook/ MacBook Pro แล้วใช้ไฟจากแบตเตอร๊่เพียงอย่างเดียวอยู่ .. เครื่องจะทำการเตือนให้เราเสียบปลั๊กไฟบ้านเข้ากับ MacBook ของเราด้วย เพราะว่าใช้ระยะเวลานาน เครื่องอาจจะดับไปก่อนการ Install เสร็จสิ้นได้
- เลือก Customize เพื่อเข้าไปดูว่า สิ่งที่เรากำลังจะ Install นั้น มีอะไรบ้าง
- หลังจากปรับในส่วนของ Customize เรียบร้อยแล้ว ให้เลือก Install เพื่อเป็นการเริ่มต้นติดตั้ง system ใหม่ (ดูภาพถัดไป)
note : เครื่องจะทำการ restart เองหลังจากที่ install เสร็จเรียบร้อยแล้ว
หน้าต่าง Customized บอกเราว่า เราจะ Install อะไรลงไปในเครื่องบ้าง
ใครอยากลงอะไรเพิ่มเติม หรือว่าเอาออก ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เลย (ตามปรกติจะถูกเลือกเอาไว้หมด) หรือถ้าอยากจะลงเพิ่มเติมทีหลัง หลังจากลง system ใหม่ไปแล้วก็ได้ ดู Optional Installs บน OS X ได้จากใน link นะครับ
จัดการเสร็จแล้วเลือก Done เพื่อกลับไปหน้าต่างเดิม
ถ้าพร้อมแล้ว ก็เลือก Install ทำการติดตั้ง system ใหม่ได้เลย~
Note : แนะนำว่าเลือกลงทั้งหมดเลยก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องมาติดตั้งใหม่ภายหลัง (ยุ่งยากนะ ผมว่า ไหน ๆ ก็จะ Install system ใหม่แล้ว ก็ Install พวกนี้แถมเข้าไปด้วยก็ประหยัดเวลาดีครับ)
ระบบทำการตรวจสอบแผ่น ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่
เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการ Install Mac OS X แล้วครับ... แต่ก่อนอื่น ระบบจะทำการตรวจสอบแผ่นที่เราเอามาใช้ก่อนว่าสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ ... (ตามแนวคิดแล้วเป็นเรื่องที่ดี ที่ถ้าตรวจสอบแล้วเจอ error จะได้ไม่ต้องเสียเวลาลง)
แต่...
เค้าใช้เวลาตรวจสอบนานนนนนนนนนนนนนนนนนนนน ไปนิดครับ .. ผมเลยเลือก Skip ข้ามขั้นตอนนี้ไปครับ =P
เค้าใช้เวลาตรวจสอบนานนนนนนนนนนนนนนนนนนนน ไปนิดครับ .. ผมเลยเลือก Skip ข้ามขั้นตอนนี้ไปครับ =P
เข้าหน้ากระบวนการติดตั้ง
ระหว่างนี้เราก็รอเค้าไปเรื่อย ๆ ครับ จะใช้เวลาประมาณ 40 นาที - 1 ชม. ในขึ้นตอนนี้ครับ =)
แอบสงสัย?
ผมไม่ทราบว่าเป็นที่ระบบตั้งเอาไว้หรือเปล่า ระหว่างที่ผมลง system ใหม่นี้เจ้าตัว airport นั้นจะถูกเปิดขึ้นมาด้วยเฉยเลย -.-a
ผมเลือกปิดไปจากตรงนี้เลยครับ ฮ่า... ไม่รู้จะมีผลอะไรหรือเปล่า แต่ปิดเอาไว้ก่อนครับ
Install เสร็จแล้วววว ~
พอเราติดตั้ง OS X เสร็จไปแล้ว จะมีหน้าต่างนี้ขึ้นมา พร้อมด้วยการนับถอยหลังเตรียม restart เครื่องครับ .. ใครไม่อยากรอให้เค้านับจบ ก็กดปุ่ม Restart เองเลยก็ได้
ตรงนี้จะใช้เวลา restart นานหน่อย แต่อดใจไว้นิดครับ ได้ใช้ system ใหม่ในไม่กี่อึดใจนี้ล่ะ
การ SetUp เข้าใช้งาน Mac OS X Leopard ครั้งแรก
หลังจากที่เราติดตั้ง OS X 10.5 Leopard เสร็จเรียบร้อย เครื่องจะทำการ restart เองแล้วเข้าสู่ขั้นก่อนการ SetUp เพื่อใช้งานครั้งแรกเราจะเข้าสู่อนิเมชั่นต้อนรับ
พบกับ อนิเมชั่นต้อนรับงาม ๆ ที่บางคนยังไม่เคยเห็น
ตรงนี้ไม่มีภาพนะครับ อยากให้ลองดูกันเอง
หน้าต่าง Welcome + setup เลือกประเทศ
ให้เลือกประเทศที่เราอยู่ครับ สำหรับผู้ใช้ในประเทศไทย เลือกติ๊กที่ช่อง Show All แล้วจากนั้นเลือกประเทศ Thailand ... เสร็จแล้วกด Continue ครับ
เลือกคีบอร์ด
เลือกเป็น U.S.(อันแรก) ไปก่อนครับ แล้วเราสามารถตั้งค่า ภาษาไทย + การใช้งานคีบอร์ดภาษาไทย ได้ภายหลัง
ต้องการย้ายข้อมูลจากเครื่อง Mac เครื่องเก่าของคุณไหม?
เป็นตัวช่วยสำหรับคนที่มีเครื่องหลายเครื่อง มาลง system ใหม่แล้วจะได้ไม่ต้องมานั่งย้ายไฟล์เอง .. เราใช้ตรงนี้ช่วยจัดการให้ได้ครับ มีตัวเลือกดังนี้
เลือกเสร็จแล้วกด Continue ครับ
ตัวอย่างการย้ายไฟล์จาก partition อื่นในเครื่องเดียวกัน (ถ้า backup ไว้)
จากตัวอย่างผมลองเลือกย้ายข้อมูลจาก hard disk ในอีก partition นึงเข้ามาไว้ใน system ใหม่นี้มี 4 หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
รอสักแป๊ปนึงให้เค้าทำการคำนวณพื้นที่ของไฟล์ที่ผมจะย้ายทั้งหมดก่อน จากนั้นจะมีปุ่ม Transfer ขึ้นมาให้เลือก
ให้กดปุ่ม Transfer เพิ่มเริ่มขบวนการขนย้ายไฟล์จากที่เก่ามาไว้ใน system ใหม่ครับ..
note : ผมเลือกเอาเฉพาะข้อมูลส่วนตัว User account กับ Network and other setting นะครับ เพราะจะประหยัดเวลากว่าย้ายทั้งหมด (โดยเฉพาะถ้าใครย้าย Applications folder เดิมมาด้วย จะรอนานมากครับ และโปรแกรมอาจจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์จากการย้ายมา system ใหม่นี้ด้วย .. สุดท้ายก็ต้องลงใหม่อยู่ดี ผมเลยเลือกข้ามไปครับ)
ส่วนไฟล์กับแฟ้มจาก system เดิมของผมนั้น ไม่ได้เลือกเพราะว่า ผมลง Leopard ในเครื่องเดียวกับ Tiger ครับ แฟ้มหรือว่าไฟล์ต่าง ๆ ของ system เดิมผมก็ยังอยู่ และสามารถเข้าถึงได้โดยตรงจาก Leopard ครับ (เค้าจะมองเห็น Tiger เป็น hard disk อีก partition ที่อยู่ในเครื่อง) =)
จากนั้นก็เริ่มย้าย
หน้าต่าง รีจิสเตอร์
เป็นข้อมูลผู้ใช้ที่จะถูกส่งไปรีจิสเตอร์ผลิตภัณฑ์ของ Apple และนอกจากนั้นยังจะถูกใช้เพื่อสร้างชื่อเราใน Address Book, Mail อีกด้วย ... ดังนั้น กรอกให้หมด แล้วกด Continue ครับ =)
ถามต่ออีกนิดหน่อย
เราจะถูกถามต่อว่าใช้เครื่องนี้ที่ไหน และเราทำงานเกี่ยวกับอะไร
และจะมีให้เราเลือกว่าสนใจจะรับข่าวสารล่าสุดจากทาง Apple หรือเปล่า? ถ้าสนใจ ก็เลือกติ๊กลงไป
จากนั้นกด Continue
กด Continue เพื่อส่งข้อมูลไปให้กับทาง Apple แล้วเตรียมเข้าสู่การ set up เครื่อง
อาจจะดูงง ๆ แต่เค้าหมายถึงเตรียมที่จะ login เข้าใช้งานเครื่องเราจริง ๆ กันแล้วครับ
หน้าต่างขอบคุณ พร้อมใช้งาน
คลิ๊ก Go ~
เข้าสู่ Leopard
note : จากรูปผมย้ายข้อมูล user account ผมจาก system เดิมมาไว้ใน system ใหม่ (ของเดิมผมตั้ง password ตอน login เอาไว้) เลยเจอหน้าต่างนี้ก่อนเข้าเครื่องครับ ให้กรอก password =)
เข้า system ใหม่
เข้าสู่หน้าต่าง system ใหม่ของเรากันแล้วนะครับ
การ SetUp เข้าใช้งาน Mac OS X Leopard ครั้งแรก
หลังจากที่เราติดตั้ง OS X 10.5 Leopard เสร็จเรียบร้อย เครื่องจะทำการ restart เองแล้วเข้าสู่ขั้นก่อนการ SetUp เพื่อใช้งานครั้งแรกเราจะเข้าสู่อนิเมชั่นต้อนรับ
พบกับ อนิเมชั่นต้อนรับงาม ๆ ที่บางคนยังไม่เคยเห็น
ตรงนี้ไม่มีภาพนะครับ อยากให้ลองดูกันเอง
หน้าต่าง Welcome + setup เลือกประเทศ
ให้เลือกประเทศที่เราอยู่ครับ สำหรับผู้ใช้ในประเทศไทย เลือกติ๊กที่ช่อง Show All แล้วจากนั้นเลือกประเทศ Thailand ... เสร็จแล้วกด Continue ครับ
เลือกคีบอร์ด
เลือกเป็น U.S.(อันแรก) ไปก่อนครับ แล้วเราสามารถตั้งค่า ภาษาไทย + การใช้งานคีบอร์ดภาษาไทย ได้ภายหลัง
ต้องการย้ายข้อมูลจากเครื่อง Mac เครื่องเก่าของคุณไหม?
เป็นตัวช่วยสำหรับคนที่มีเครื่องหลายเครื่อง มาลง system ใหม่แล้วจะได้ไม่ต้องมานั่งย้ายไฟล์เอง .. เราใช้ตรงนี้ช่วยจัดการให้ได้ครับ มีตัวเลือกดังนี้
- from another Mac : จากเครื่อง Mac เครื่องอื่น (ต้องใช้สาย Firewire ในการเชื่อมต่อจะดีที่สุดครับ)
- from abother volume on this Mac : สำหรับย้ายข้อมูลจาก partition อื่น บนเครื่องเดียวกันนี้
- from a Time Machine Backup : กู้ข้อมูลเดิมมาจากใน Time Machine (ถ้าคุณมีการใช้งาน Time Machine อยู่ก่อนแล้ว ให้เลือกตัวนี้ได้)
- Do not transfer my information now : ยังไม่ทำการย้ายตอนนี้.. เอาไว้ก่อน
เลือกเสร็จแล้วกด Continue ครับ
ตัวอย่างการย้ายไฟล์จาก partition อื่นในเครื่องเดียวกัน (ถ้า backup ไว้)
จากตัวอย่างผมลองเลือกย้ายข้อมูลจาก hard disk ในอีก partition นึงเข้ามาไว้ใน system ใหม่นี้มี 4 หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
- ข้อมูลส่วนตัวจาก user account ของผมใน system เดิม
- ค่า setting ต่างในในส่วนของ network (น่าจะรวมถึง internet ด้วย)
- Applications folder - อันนี้ตรงตัวครับ คือแฟ้ม Applications บน system เดิม
- แฟ้ม กับ ไฟล์ต่าง ๆ ที่ผมสร้างเอาไว้บน system เดิม
รอสักแป๊ปนึงให้เค้าทำการคำนวณพื้นที่ของไฟล์ที่ผมจะย้ายทั้งหมดก่อน จากนั้นจะมีปุ่ม Transfer ขึ้นมาให้เลือก
ให้กดปุ่ม Transfer เพิ่มเริ่มขบวนการขนย้ายไฟล์จากที่เก่ามาไว้ใน system ใหม่ครับ..
note : ผมเลือกเอาเฉพาะข้อมูลส่วนตัว User account กับ Network and other setting นะครับ เพราะจะประหยัดเวลากว่าย้ายทั้งหมด (โดยเฉพาะถ้าใครย้าย Applications folder เดิมมาด้วย จะรอนานมากครับ และโปรแกรมอาจจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์จากการย้ายมา system ใหม่นี้ด้วย .. สุดท้ายก็ต้องลงใหม่อยู่ดี ผมเลยเลือกข้ามไปครับ)
ส่วนไฟล์กับแฟ้มจาก system เดิมของผมนั้น ไม่ได้เลือกเพราะว่า ผมลง Leopard ในเครื่องเดียวกับ Tiger ครับ แฟ้มหรือว่าไฟล์ต่าง ๆ ของ system เดิมผมก็ยังอยู่ และสามารถเข้าถึงได้โดยตรงจาก Leopard ครับ (เค้าจะมองเห็น Tiger เป็น hard disk อีก partition ที่อยู่ในเครื่อง) =)
จากนั้นก็เริ่มย้าย
หน้าต่าง รีจิสเตอร์
เป็นข้อมูลผู้ใช้ที่จะถูกส่งไปรีจิสเตอร์ผลิตภัณฑ์ของ Apple และนอกจากนั้นยังจะถูกใช้เพื่อสร้างชื่อเราใน Address Book, Mail อีกด้วย ... ดังนั้น กรอกให้หมด แล้วกด Continue ครับ =)
ถามต่ออีกนิดหน่อย
เราจะถูกถามต่อว่าใช้เครื่องนี้ที่ไหน และเราทำงานเกี่ยวกับอะไร
และจะมีให้เราเลือกว่าสนใจจะรับข่าวสารล่าสุดจากทาง Apple หรือเปล่า? ถ้าสนใจ ก็เลือกติ๊กลงไป
จากนั้นกด Continue
กด Continue เพื่อส่งข้อมูลไปให้กับทาง Apple แล้วเตรียมเข้าสู่การ set up เครื่อง
อาจจะดูงง ๆ แต่เค้าหมายถึงเตรียมที่จะ login เข้าใช้งานเครื่องเราจริง ๆ กันแล้วครับ
หน้าต่างขอบคุณ พร้อมใช้งาน
คลิ๊ก Go ~
เข้าสู่ Leopard
note : จากรูปผมย้ายข้อมูล user account ผมจาก system เดิมมาไว้ใน system ใหม่ (ของเดิมผมตั้ง password ตอน login เอาไว้) เลยเจอหน้าต่างนี้ก่อนเข้าเครื่องครับ ให้กรอก password =)
เข้า system ใหม่
เข้าสู่หน้าต่าง system ใหม่ของเรากันแล้วนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น